The Temple of Dawn (Wat Arun) at Dusk | วัดอรุณยามค่ำ


(EN/TH) Here’s one of the most iconic, and perhaps most visited, landmarks in all of Bangkok. Wat Arun, or the Temple of Dawn, is where I would take friends from out of town to visit. They would gawk, they would be impressed, and they would ask for more temple visits, which I would mostly comply with. After all, after all these years, it seems to me that temples are also my solace. The place where I can trace back to the past, at least in my mind, to revisit stories and things I have read about here and there.

ขอ dive deep เรื่องราวของวัดอรุณราชวราราม วัดที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ผู้คนทั่วโลกต่างลิสต์ไว้ว่าเป็นสถานที่ๆ ต้องได้มาชมกับตาตัวเองให้ได้ซักครั้งในชีวิต
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะมาชมวิวพระปรางค์วัดอรุณฯ ริมเจ้าพระยา ก็คือช่วงเย็นๆ ก่อนเวลาพระอาทิตย์ตกเล็กน้อย ด้วยสถานที่ตั้ง ดวงอาทิตย์จะตกหลังพระปรางค์วัดอรุณทุกๆ วัน ? และหากฟ้าดินเป็นใจ คือฟ้าโปร่ง มีเมฆเล็กน้อยพอเป็นลวดลายงามๆ เราก็จะเห็นฟ้าเปลี่ยนสีงดงามอลังการมาก ส่วนตัวดิฉันชอบสีของฟ้าตอนที่พระอาทิตย์ลับไปแล้วซักครู่ เพราะจะได้สีฟ้าเข้มก่ำ ตัดกับแสงสว่างของไฟที่ทางวัดจะเปิดส่องพระปรางค์ตอนกลางคืนคือสวยงามอร่ามตาที่สุด

But Wat Arun is more than just an attraction. Sitting on the west side of the Chaophraya, Wat Arun has been around longer than Ratanakosin Island itself. This ancient temple was already here when the Ayutthaya Kingdom ended and our capital was moved to this part of town that later became Krung Thongburi. Wat Arun was then called Wat Makok, but since Phra Chao Tak saw this temple on his way up river to found the new capital at dawn, he called it “Wat Chaeng,” or the Temple of Dawn. It was later in the era of King Rama II that this temple was named “Wat Arun Ratchawararam Ratchawaramahawihan,” a royal temple of the first class. The place has been an icon for Bangkok and Thailand ever since. P.S. The Ratanakosin Kingdom has just reached its 240th year this year.

วัดอรุณฯ มีประวัติยาวนาน ว่ากันว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งหมายถึงเรากำลังมองดูสถาปัตยกรรมโบราณที่เก่าแก่กว่ากรุงรัตนโกสินทร์เสียอีก (กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ ๒๔๐ ปีในปีนี้) โดยที่เก่าแก่กว่าแค่ไหนยังไม่มีใครสามารถระบุได้ชัดเจน
ก่อนที่จะมีชื่อว่า “วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร” วัดนี้เคยชื่อว่า “วัดมะกอก” โดยสมัยของพระเจ้าตากสิน มีการเรียกวัดนี้ว่า “วัดแจ้ง” ทำให้มีการแปลชื่อวัดนี้ว่า “The Temple of Dawn” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้พระราชทานนามให้ใหม่ให้สมเกียรติว่า “วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร” ซึ่งก็ยังหมายถึง “The Temple of Dawn” อยู่ดี

Wat Arun is an architectural wonder. Sitting on the bank of the river with soft soil as the foundation, it was a marvel that the builders back in the day could achieve such a height for the Phra Prangs. It was said that the original Phra Phrang was not this tall, only about 16 metres, but still, it was a major feat. This current appearance is the result of the main renovation that began in the era of King Rama II. It was said that it took a deep-set crisscrossing foundation made of the strongest timbers available to build the entire structure. The current height of the main Phra Prang is now almost 70 metres (different archives show different heights, but the official temple’s website shows it as 67 metres).

พระปรางค์วัดอรุณเป็นความน่าทึ่งทางสถาปัตยกรรมของไทย มีความสูงเกือบ ๗๐ เมตร (ประมาณอาคารสูง ๒๐ ชั้น) ซึ่งการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงขนาดนี้ในอดีตไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มชุ่มน้ำอย่างริมแม่น้ำริมคลองเช่นนี้ ขอให้นึกถึง“ภูเขาทอง” ที่วัดสระเกศ ที่ใช้เวลาในการสร้างถึง ๒ รัชกาล ทั้งๆ ที่มีความสูงน้อยกว่า คือประมาณ ๕๙ เมตรเท่านั้น
ก็ปรากฏว่า พระปรางค์เดิมเริ่มแรกของวัดอรุณนั้น มีความสูงเพียง ๘ วา หรือประมาณ ๑๖ เมตร โดยมีการต่อเติมในสมัยรัชกาลที่ ๒ โดย “ขุนวิจิตร มาตรา” หรือ “สง่า กาญจนนาคพันธุ์” ผู้เขียน “เด็กคลองบางหลวง” ได้เล่าไว้ว่า รากฐานของพระปรางค์วัดอรุณใช้ท่อนซุงมากกว่า ๒๐ ต้นวางซ้อนไปมา ในชั้นดินที่ขุดลงไปลึกมากหลายชั้น โดยรูปแบบการสร้างฐานรากแบบไทยโบราณนี้ ยังใช้กับวัดที่อยู่ริมแม่น้ำ ริมคลองอื่นๆ ด้วย เช่น วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร บรมบรรพตภูเขาทอง วัดสระเกศฯ หรือแม้กระทั่ง คุ้มเจ้าหลวง อายุกว่า ๑๐๐ปี ที่จังหวัดแพร่

The best time to see Wat Arun, for me, is in the evening, with the sun setting just behind the temple. On a clear day, with the skies turning countless colors, one will surely have an evening of a lifetime. A lot of people go through the effort of booking a bar, or a restaurant, on the opposite bank overlooking the Temple of Dawn, but the view can also be had for free. Just walk in through the Soi “Pratu Nok Yung,” which is directly opposite Wat Pho’s parking entrance, and there will be a public pier where one can watch the dramatic skies over the Temple of Dawn at one’s desire.

ก่อนโควิค มีนักท่องเที่ยวมาชมวัดอรุณมากมายเนืองแน่นมาก โดยเฉลี่ย วันละ ๑๕,๐๐๐ – ๒๐,๐๐๐ คน ปัจจุบัน จำนวนนักท่องเที่ยวล่าสุดตกอยู่ที่วันละประมาณ ๘,๐๐๐ คน โดยคนส่วนใหญ่นิยมมาเช่าชุดไทยถ่ายภาพ ซึ่งราคาเช่าชุดไทยตกอยู่ที่ประมาณ ๓๐๐ – ๔๐๐ บาท

But I was there at the Amorosa Bar, which is on the top two floors of The Deck. They accept bookings made three months in advance. And the best way to do so is via email: service@arunresidence.com.

หากต้องการมาชมวิววัดอรุณยามเย็น วิธีง่ายที่สุดคือขึ้นรถไฟใต้ดิน ลงสถานี “สนามไชย” แล้วเดินเข้าซอย “ประตูนกยูง” ริมน้ำมีท่าเรือของวัดที่กำลังสร้าง สามารถเข้าไปชมวิวได้แบบไม่เสียสตางค์ ริมน้ำย่านนี้มีร้านอาหาร บาร์มากมาย แต่ควรต้องจองล่วงหน้า หากต้องการวิวแบบไม่ปนหลังใคร ที่เราไปคือ ชั้น ๔ ของร้าน The Deck by Arun Residence เป็นบาร์กึ่งร้านอาหารที่ชื่อว่า Amorosa มีรูฟท็อปด้วยหาต้องการบรรยากาศแบบ al fresco จริงจังค่ะ
Amorosa โทร 02-221-9158-9 Email: service@arunresidence.com

And the best way to get there is via the MRT. Get off at ‘Sanam Chai’ and walk. 

P.S. For those wishing to visit Wat Arun during the day, the temple is open 8:00 – 18:00 daily. And you can walk from MRT: Itsaraphap.



© OHHAPPYBEAR

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *