(TH/EN) The latest bucket list I have created contains things that I would never wish to see maybe 5 years back. Instead of big cities and Instagram-hyped destinations, my list has centuries-old stone sanctuaries, forests, national parks, hiking trails, and more subdued things. Age certainly has something to do with it.
ไม่นานมานี้ นสพ นิวยอร์คไทม์ ลงเรื่องความรู้สึกที่เปลี่ยนไปของการไปชมพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ ในประเทศตะวันตก ที่มักเต็มไปด้วยโบราณวัตถุจากประเทศต่างๆ จนมีการตั้งคำถาม ย้อนรอยรากเหง้าของการได้มา จนปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง ทำการส่งคืนโบราณวัตถุต่างๆ ที่ประเทศเจ้าของทำการทวงคืนแล้วเป็นจำนวนมาก
ที่บุรีรัมย์ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง มีทรัพย์สมบัติชาติที่ถูกทวงคืนมาได้สำเร็จถึงสองชิ้น ทำให้สมควรไปดูปราสาทหินหลังนี้ให้เห็นกับตาซักครั้งในชีวิตค่ะ
Our recent 9-day trip to southern Isan felt like an archaeological adventure. First, we went to Prasat Hin Sadok Kok Thom in Sa Kaeo, ate a lot of Vietnamese food, and then we went to Surin and now Buriram. Our highlights here are the Prasat Hin Khao Phanom Rung and Prasat Hin Muang Tam in the Chaloem Phra Kiat District, which is about 60 kilometres south of Buriram’s city centre.
ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปทางใต้ประมาณ 60 กม. ขับรถหนึ่งชั่วโมงกว่าๆ ถนนเป็นสองเลนสวนกันเสียส่วนใหญ่ ดังนั้นหากจะไปเที่ยวปราสาทหิน แล้วอยากไปตอนเช้าๆ คนไม่เยอะ ไม่ร้อน แนะนำว่าให้หาที่พักใกล้ๆ ดิฉันพักที่ Hotel de l’amour Buriram ขับเรื่อยๆ มาปราสาทหินใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
ปราสาทหินโบราณส่วนใหญ่ ถูกสร้างตามระนาบทิศตะวันออก – ตะวันตก ประตูทางเข้ามักจะหันเข้าทิศตะวันออก ทิศสำคัญตามพิธีกรรม ซึ่งกลายมาเป็นแบบแผนการสร้างศาสนสถานอื่นๆ ในเวลาต่อมา การสร้างแบบนี้ทำให้ศาสนสถานนั้นๆ สามารถรับแสงเช้าและเย็นได้เต็มที่ และนี่คือสิ่งพื้นฐานที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้นและตก ลอดช่องประตูทั้ง 15 บาน ของปราสาทหินพนมรุ้ง ที่กลายมาเป็นช่วงเวลาสำคัญในการไปเที่ยวที่นี่
The highway between Buriram centre and Chaloem Phra Kiat District is two-way, hence a bit tough to drive, and it took us slightly over an hour the day we went to explore the city. They were having the Buriram Marathon 2023 on that day, and the roads were being barricaded. But generally, it was quite inconvenient if you planned to visit Khao Phanom Rung early in the day, say at 8 a.m. when they were open, to avoid the crowds.
และปีนี้ ก็ได้มีการกำหนดวันมาแล้วว่า ปรากฏการณ์แสงอาทิตย์ขึ้นละตก ลอดช่องประตูทั้ง 15 ของปราสาทหินเขาพนมรุ้งของปีนี้ มีดังนี้
ครั้งที่ 1 พระอาทิตย์ตก วันที่ 5-7 มีนาคม เวลาประมาณ 18.15 น.
ครั้งที่ 2 พระอาทิตย์ขึ้น วันที่ 3-5 เมษายน เวลาประมาณ 06.03 น.
ครั้งที่ 3 พระอาทิตย์ขึ้น วันที่ 8-10 กันยายน เวลาประมาณ 05.57 น.
ครั้งที่ 4 พระอาทิตย์ตก วันที่ 5-7 ตุลาคม เวลาประมาณ 17.55 น.
Like most ancient stone castles in this area, Prasat Hin Khao Phnom Rung is built in an east-west orientation, with its entrance facing east, the auspicious direction according to ancient Brahman beliefs. Scientifically speaking, this is how the stone castle gets the full blast of the sun in both directions: sunrise in the east and sunset in the west. However, something even more amazing happens here every year, and we call it the “Solar Phenomenon of Prasat Hin Khao Phanom Rung,” which occurs when the sunlight beams through the castle’s total of 15 gates at a certain moment. This phenomenon happens four times a year, and the dates of the event are calculated based on the ancient solar calendar. And this year, the dates are the following:
1st phenomenon: Sunset, 5 – 7 March 2023, at about 18:15 hours.
2nd phenomenon: Sunrise, 3 – 5 April 2023, at about 06:03 hours.
3rd phenomenon: Sunrise, 8 – 10 September 2023, at about 05:57 hours.
4th phenomenon: Sunset, 5 – 7 October 2023, at about 17:55 hours.
แม้ว่าปราสาทหินพนมรุ้งจะตั้งตามแนวพระอาทิตย์ขึ้นและตกอยู่แล้ว แต่การคำนวณหาวันที่แสงจะส่องตรงเผงเข้าประตูทั้ง 15 ได้นั้น ต้องอิงจากปฏิทินสุริยะคติของแต่ละปี เป็นการคำนวณวันเวลาของโบราณ ที่อาศัยการสังเกต จดจำ และบันทึกการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติอย่างละเอียด การที่เราได้มาเห็นว่าปราสาทหินที่สร้างมาแล้วเป็นพันปี ใช้ความรู้เรื่องนี้ในการกำหนดทิศทาง ก็เป็นเรื่องน่าทึ่งมากๆ
ด้านบนประตูทางเข้าปราสาทประธานด้านหน้า ช่วงสะพานนาคราชชั้นที่ 3 ของปราสาทหินเขาพนมรุ้ง คือ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่เราได้คืนมาจากสถาบันศิลปะแห่งชิคาโกเมื่อ พ.ศ. 2531 เราเห็นภาพแกะสลักของพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาเหนือพญานาคที่ทอดตัวอยู่เหนือมังกรอีกที ณ วันเวลาที่มีการส่งคืน ทับหลังชิ้นนี้ถูกตีมูลค่าไว้ประมาณ 50 ล้านบาท
Apart from the solar phenomenon, Prasat Hin Khao Phanom Rung is also home to two repatriated lintels. The first one—the much-reported Narai Bantomsin lintel—was repatriated from the Art Institute of Chicago back in 1988. Back then, we called it the “Narai Bantonsin Lintel Affair,” for it spurred national awareness about artifact thievery. There was a song written to stir up the movement. With all that, this is perhaps the most famous lintel in our kingdom.
การทวงคืนวัตถุโบราณของชาติ กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคนในชาติที่เคยถูกตะวันตกนำโบราณวัตถุไปมีการตื่นตัว ของเหล่านี้ถูกเคลื่อนย้ายขโมยไปในช่วงล่าอาณานิคม สงคราม หรือแม้กระทั่งในยุคสงครามเย็น ปัจจุบันการคืนโบราณวัตถุสู่มาตุภูมิ เป็นเรื่องที่หลายประเทศยินยอมที่จะทำ ผู้ครอบครองหลายแห่งสนับสนุนเงินที่จะใช้ในการคืนพร้อมตั้งพิพิธภัณฑ์ในประเทศเจ้าของให้ด้วยเพื่อเป็นการขอโทษสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ก็มีบางแห่งที่ทำยังไงก็ไม่มีทางคืน แม้ว่าเข้าไปปุ๊ปก็จะเห็นชัดเจนเลยว่าทั้งพิพิธภัณฑ์ไม่มีอะไรเป็นของชาติตนเองเลย แถมยังมีกฏหมายที่เอาไว้อ้างเพื่อคุ้มครองสิ่งที่ตนขโมยมาอีก รายละเอียดอ่านได้จากเรื่องของ NYT ลิ้งด้านล่างเลยค่ะ
Apart from the Narai Bantomsin Lintel, which is installed on the eastside entrance of the main sanctuary, the Museum of Prasat Hin Khao Phanom Rung is also home to another repatriated lintel: the Prasat Nong Hong Lintel, also native of Buriram, returned from the Asian Art Museum of San Francisco in 2021.
นอกจากทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์แล้ว ที่อาคารนิทรรศการ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งยังเป็นที่แสดง ทับหลังปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ได้รับการส่งคืนมาจากการครอบครองของ Asian Art Museum ที่เมืองซานฟรานซิสโก ในปีพ.ศ. 2564 พร้อมกับทับหลังปราสาทเขาโล้น ของจังหวัดสระแก้ว (ชิ้นหลังจัดแสดงที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม สระแก้ว) อีกด้วยนะคะ หากได้ไป ก็อย่าพลาดที่จะแวะดู
Repatriation of artifacts has been happening a lot in recent years. The world view of visitors to western museums, many filled with looted artifacts from countries they colonized or disrupted one way or another, had also changed. The realization that many artifacts should not be where they are and should, in fact, be returned to their native countries is becoming a more accepted worldview. Read this recent NYT article about the changing worldviews regarding looted collections here.
ปราสาทหินเขาพนมรุ้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของบุรีรัมย์ ที่นี่คนเยอะตลอดปี ทุกวัน ไม่มีเว้น ช่วงที่ดิฉันไป เห็นชาวต่างชาติจำนวนมากแห่มาดู หลายคนมาเป็นคู่เช่ารถขับมา ค่อยๆ แวะชมเหมือนกันกับเรา แนะนำว่า หากไม่ลำบาก ให้ตื่นเช้าแล้วมาเลย เดินสบาย ไม่มีคน ถ่ายรูปสวยมากค่ะ ที่จอดรถมีสองด้าน ด้านหน้า เดินไกล ต้องปีนบันได แต่ก็จะได้รูปอลังการของทางเดินเข้าตัวปราสาท แต่หากมีผู้สูงอายุ เค้าก็มีที่จอดรถด้านหลัง เดินใกล้ เสียเงินค่าขึ้นที่จอดรถเพิ่มนิดหน่อย แต่สะดวกสบายดีค่ะ
Buriram, like many Thai lower northeastern provinces, carries the ancient influences of the Khmer. At one pitstop where we had lunch, on the menu there was ‘Som Tam Khmer,’ and my curious mind ordered a plate. Turned out that this variation of Som Tam has sliced fresh ginger and pork crisps in addition to the regular papaya salad we come to know and love. Normally, a plate of Khmer Som Tam would also contain Pla Ra, the fermented fish a staple condiment in Isan dishes, but because I don’t eat Pla Ra, our Khmer Som Tam was just a hybrid of Bangkok Som Tam plus the aforementioned ingredients. Not that it was unsavory, I was just not familiar with the taste. I’d just call that a new experience.
มาบุรีรัมย์ แวะกินไก่ย่างส้มตำ ทางร้านแนะนำส้มตำเขมร เลยได้ลอง เป็นส้มตำใส่ขิง แคปหมู รสแปลกๆ ไม่คุ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่อร่อย อีกเมนูที่มาบุรีรัมย์แล้วต้องลองคือ กุ้งจ่อม แต่เวอร์ชั่นที่ดิฉันได้ลอง คือเวอร์ชั่นนักท่องเที่ยว เป็นอาหารเช้าของโรงแรม จัดมาสวยงาม รสชาติอร่อยดี แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามันคือกุ้งจ่อมของแท้หรือไม่ มนุษย์ foodie บุรีรัมย์จะโอเคหรือไม่ ไว้หากมีโอกาสจะไปเที่ยวใหม่นะคะ
ป.ล. เก็บเที่ยวให้ครบในย่านนี้ ก็ต้องไปปราสาทหินเมืองต่ำด้วย ขับไปไม่ไกลค่ะ ปราสาทหินเมืองต่ำสวยร่มรื่นมาก เที่ยวเสร็จสองที่ ได้เวลาทานข้าวเที่ยงพอดีค่ะ
Stay: Hotel De L’Amour, Buriram
For more information, visit Prasat Hin Khao Phanom Rung & TAT Buriram
เรื่องราวการกลับบ้านของทับหลังปราสาทเขาโล้น (สระแก้ว) และทับหลังปราสาทหนองหงส์ (บุรีรัมย์) สามารถอ่านได้ที่นี่ค่ะ
For the New York Times’ article: click here.
© OHHAPPYBEAR